ความเป็นมาวันแม่แห่งชาติ
งานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ.สวนอัมพร โดยกระทรวงสาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง ต่อมาวันแม่ที่รัฐบาลรับรอง คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 แต่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมา เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515
แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และกำหนดให้ดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ คือ ดอกมะลิ
แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และกำหนดให้ดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ คือ ดอกมะลิ
ต้นทางสวรรค์
ทุกคนเสาะหาหนทางสวรรค์
แต่ไม่พบกัน เพราะมองข้ามไป
ทั้งที่ต้นทางนั้นแสนกว้างใหญ่
และอยู่ไม่ไกล ใกล้ตัวเพียงแค่นิดเดียว
เหมือนมีเส้นผมที่มาบังตา
ดังคล้ายขอบฟ้าที่มาขวางกั้น
ให้มองไม่เห็นถึงความคิดเฉิดฉันท์
ต้นทางสวรรค์ อันเรืองรอง…
จงมองด้วยหัวใจที่สดใส
หากเห็นรอยยิ้มผู้ใด…
เป็นรอยยิ้มที่ไม่เหมือนใคร
นั่นแหละคือทางผ่านไปสวรรค์
ท่านเป็นพระ ในบ้าน
ที่ลูกต่างมองผ่านกัน… มองผ่านทุกวัน…
จึงไม่เห็นประตูทอง
แม่…คือพระในบ้าน
เป็นดอกบัวบานของลูกทุกคน
แค่ธุลีความดีของท่านร่วงหล่น
พระคุณท่วมท้นล้นจักรวาล
โปรดจำไว้ต้นทางสวรรค์ที่ปรารถนา
อยู่ที่ฝ่าเท้ามารดา…เมื่อลูกก้มวันทากราบกราน